pm2.5 คืออะไร มีผลต่อสุขภาพยังไง วิธีดูแลตัวเองในสถานการณ์หมอกควัน

ขณะนี้ภาวะหมอกควันเริ่มเป็นปัญหาเหมือนเช่นทุกปี ปัญหาหมอกควันเกิดจากการเผาป่าหรือการเผาไหม้ของสิ่งอื่นใดในบริเวณกว้างที่ทำให้เกิดควันจำนวนมาก และแพร่ขยายไปทั่ว ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีหมอกควันอาจสูดหายใจเอาควันเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว และอาจได้รับอันตรายจากหมอกควันเหล่านี้ 



เนื่องจากในหมอกควันประกอบไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารมลพิษและเขม่าควันที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเราได้นั้น คือ ฝุ่นที่นักวิชาการเรียกว่า PM10 (พีเอ็ม 10) และ PM 2.5 (พีเอ็ม 2.5) ฝุ่น PM10 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน หรือมีขนาดเท่ากับ1 ใน 20 ของเส้นผม มีขนาดเล็กมากจนเรามองไม่เห็น ส่วนฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่า PM10 และเมื่อหายใจที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้เข้าไปในร่างกาย จะเข้าถึงถุงลมในปอดได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของปอดลดลง การแลกเปลี่ยนอากาศ
น้อยลง ส่งผลให้หายใจสั้นและหัวใจทำงานหนักมากขึ้นเพื่อทดแทนปริมาณการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ลดลง ยิ่งผู้ที่มีปัญหาของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ จะยิ่งมีผลกระทบมากขึ้น

นอกจากนั้นฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ ยังเป็นพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นปอด ตับ และไต ถ้าเป็นฝุ่นละอองที่เป็นอนุภาคของกรด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ อนุภาคของกรดจะรวมกับความชื้นในระบบทางเดินหายใจ กลายเป็นซัลเฟตและกลายเป็นกรดซัลฟุริคที่เป็นสารกัดกร่อน ก่อให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ และลดความสามารถของร่างกายในการจัดการเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการ
ติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญฝุ่นละอองเหล่านี้ทำให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้
นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่า หญิงมีครรภ์ ที่ได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกในครรถ์ได้ เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางรก ส่งผลให้ทารกเมื่อเกิดมามีน้ำหนักน้อยผิดปกติ และอาจมีผลกระทบต่อพัฒนาการและระบบสมองของลูกได้




สรุปอันตรายของฝุ่นละอองขนำดเล็กต่อระบบทำงเดินหายใจ
๑. อาจทำให้มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก จนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บคอ ไอแบบมีเสมหะ มีไข้ หรืออาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือหายใจมีเสียงดังหวีดเนื่องจากการหดตัวของหลอดลม เป็นต้น

๒. ปอดเป็นพังผืดจากการระคายเคืองเรื้อรัง (Pneumoconiosis)
๓. โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดลม อักเสบหรือปอดบวม จะซ้ำเติมให้การทำงานของหัวใจแย่ลง จนเกิดหัวใจวายได้ 

๔. ผลการวิจัย (อ้างอิงจาก EPA) พบว่าหากร่างกายได้รับการสัมผัส PM2.5 ปริมาณมากและสัมผัสเป็นระยะเวลานาน มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในเด็ก (เช่น หอบหืด) มีผลต่อน้ำหนักเด็กแรกเกิดที่ลดลง และตายก่อนวัยอันควร
๕. มะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีส่วนผสมของสารบางอย่าง เช่น Arsenic, Nickel Chromate, Poly aromatic hydrocarbon (PAH) และสารกัมมันตรังสี เมื่อสัมผัสกับเนื้อปอด อาจทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ และถ้าสารดังกล่าวมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ จะไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกปอด และอาจทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น