พายุฝนซัดเจดีย์ วัดล่ามช้าง เชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่าเจ็ดร้อยปีแตกร้าวทั่วทั้งองค์
ที่วัดล่ามช้าง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากวานนี้ได้เกิดพายุฝนตกหนักในช่วงเย็นของวันที่ 4 ตุลาคม
2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้องค์พระเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ 700 กว่าปี แตกร้าว
ตัวองค์เจดีย์หลุดร่วง และทรุดเอียง
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่วัดเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดยเมื่อไปถึงก็ได้พบกับพระครูปลัดอานนท์
วิสุทโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง ได้พาผู้สื่อข่าวไปดูองค์เจดีย์
ก็พบ่าตัวองค์เจดีย์มีร่องรอยการแตกร้าวขนาดใหญ่
บริเวณจุดที่เรียกว่าระฆังคว่ำที่อยู่ด้านบน และมีร่องรอยการแตกรอบๆ อีกหลายจุด
ขณะเดียวกันตัวองค์เจดีย์ ยังได้ทรุดเอียงไปทางพระพระวิหารด้วย
ทั้งนี้ทางด้านพระครูปลัดอานนท์ วิสุทโธ
เจ้าอาวาสวัดล่ามช้าง เปิดเผยว่า สำหรับเจดีย์โบราณของวัดล่ามช้าง มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมย่อเก็จ
ที่ฐานมีรูปปั้นช้างประดับอยู่ทั้งสี่ทิศ
บริเวณฐานทรงกลมรองรับองค์ระฆังมีปูนปั้นเทพพนมประดับอยู่อย่างสวยงาม
ถัดไปเป็นองค์ระฆังประดับด้วยกระจกสีสวยงามจนถึงส่วนปลียอด
ฐานประดับด้วยลวดลายกลีบบัว ยอดเจดีย์ยกฉัตรสีทอง ตัวองค์เจดีย์ดั้งเดิมนั้นอยู่ภายใน
ซึ่งมีอายุจนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 700 กว่าปี ตามประวัติของวัดกล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.
1835 – 1839 พญามังรายมหาราชกษัตริย์แคว้นล้านนา ได้มาสร้างเมืองเชียงใหม่
ทรงประทับอยู่ ณ เวียงเล็ก หรือเวียงเชียงมั่น (วัดเชียงมั่นในปัจจุบัน)
เพื่อเตรียมอุปกรณ์การสร้างเมือง พญามังรายได้ทรงเชิญพญาร่วม
หรือขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แคว้นสุโขทัย และพญางำเมือง กษัตริย์แคว้นพะเยา
หรือภูกามยาม มาร่วมปรึกษาสร้างเมืองด้วย สร้างเสร็จแล้วได้ขนานนามเมืองว่า
“นพบุรีศรีนครพิงศ์เชียงใหม่” ด้านทิศตะวันออกของเวียงเล็ก เป็นป่าไม่มีหนองน้ำใหญ่
ช้างราชพาหนะของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ และข้าราชบริภาร คนเลี้ยง
และล่ามไว้บริเวณนี้ เรียกว่า “เวียงเชียงช้าง”
ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นที่เวียงเชียงช้าง ณ ที่เลี้ยง และล่ามช้างเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถาน ขนานนามว่า “วัดล่ามช้าง” และปั้นรูปช้างถูกล่ามเลี้ยงไว้เป็นสัญลักษณ์ ต่อมาปี 2502 องค์เจดีย์เกิดการชำรุดเหลือแต่อิฐที่เป็นรูปทรงเจดีย์ขึ้นไป ซึ่งท่านอดีตเจ้าอาวาสก็ได้สร้างองค์เจดีย์ที่เห็นปัจจุบันครอบองค์เจดีย์เดิมไว้ในปี 2503 จากนั้นตัวเจดีย์ก็เกิดการเสียหาย ทางกรมศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เข้ามาบูรณะเมื่อประมาณปี 2557 - 2558 หลังจากนั้นก็ไม่ได้บูรณะ แต่เหตุการณ์เมื่อวานได้มีฝนตกและลมแรง ทำให้ปูนที่อยู่ด้านบนตรงส่วนระฆังนั้นมีรอยแตก แล้วร่วงลงมา ก็จะเห็นรากไม้อยู่ด้านในด้วย
เมื่อมีฝนตกหนักลงมาอย่างหนัก คงทำให้น้ำเข้าไปในรอยแตก และเกิดการพังทลายลงมา และด้วยน้ำฝนที่ตกลงมาเยอะ ยังทำให้องค์เจดีย์ทรุดเอียงไปทางวิหารของวัดด้วย ขณะที่ทางวัดก็เตรียมแจ้งไปทางกรมศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ให้ทราบและเข้ามาเร่งดำเนินการบูรณะอย่างเร่งด่วน เพราะเกรงว่าตัวองค์เจดีย์จะเกิดการพังทลายลงมาทั้งหมด เพราะมีรอยร้าวรอบตัวเจดีย์ และวัดแห่งนี้ก็มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากราบไหว้และเข้าชมบริเวณวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัย ทางวัดก็ได้ใช้เชือกมากั้นไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาโดยรอบบริเวณองค์เจดีย์เพื่อความปลอดภัย
ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นที่เวียงเชียงช้าง ณ ที่เลี้ยง และล่ามช้างเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถาน ขนานนามว่า “วัดล่ามช้าง” และปั้นรูปช้างถูกล่ามเลี้ยงไว้เป็นสัญลักษณ์ ต่อมาปี 2502 องค์เจดีย์เกิดการชำรุดเหลือแต่อิฐที่เป็นรูปทรงเจดีย์ขึ้นไป ซึ่งท่านอดีตเจ้าอาวาสก็ได้สร้างองค์เจดีย์ที่เห็นปัจจุบันครอบองค์เจดีย์เดิมไว้ในปี 2503 จากนั้นตัวเจดีย์ก็เกิดการเสียหาย ทางกรมศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เข้ามาบูรณะเมื่อประมาณปี 2557 - 2558 หลังจากนั้นก็ไม่ได้บูรณะ แต่เหตุการณ์เมื่อวานได้มีฝนตกและลมแรง ทำให้ปูนที่อยู่ด้านบนตรงส่วนระฆังนั้นมีรอยแตก แล้วร่วงลงมา ก็จะเห็นรากไม้อยู่ด้านในด้วย
เมื่อมีฝนตกหนักลงมาอย่างหนัก คงทำให้น้ำเข้าไปในรอยแตก และเกิดการพังทลายลงมา และด้วยน้ำฝนที่ตกลงมาเยอะ ยังทำให้องค์เจดีย์ทรุดเอียงไปทางวิหารของวัดด้วย ขณะที่ทางวัดก็เตรียมแจ้งไปทางกรมศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ให้ทราบและเข้ามาเร่งดำเนินการบูรณะอย่างเร่งด่วน เพราะเกรงว่าตัวองค์เจดีย์จะเกิดการพังทลายลงมาทั้งหมด เพราะมีรอยร้าวรอบตัวเจดีย์ และวัดแห่งนี้ก็มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากราบไหว้และเข้าชมบริเวณวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัย ทางวัดก็ได้ใช้เชือกมากั้นไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาโดยรอบบริเวณองค์เจดีย์เพื่อความปลอดภัย
สำหรับวัดแห่งนี้
นอกจากจะเป็นวัดเก่าแก่ที่ใช้สำหรับเลี้ยงช้างในสมัยพระยามังรายแล้ว
ยังคงประดิษฐานพระพุทธรูปดอกไม้ องค์แรกของภาคเหนือ
ซึ่งทำมาจากมวลสารดอกไม้และทำเป็นพระพุทธรูปขึ้นมา มีลักษณะรูปทรงไม่เหมือนใคร
หากอยู่ใกล้จะได้กลิ่นหอม มีหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว สูง 80 ซม.
ปัจจุบันนักท่องเที่ยวได้เดินทางมากราบไหว้ และเข้าชมโบราณสถานต่างๆ
ในวัดเป็นจำนวนมาก
Post a Comment